ซื้อขายบ้านมือสอง

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล Mysql


การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล


ก่อนที่จะเริ่มใช้งานฐานข้อมูล ต้องเข้าใจก่อนว่า ฐานข้อมูลคืออะไร


โปรแกรมฐานข้อมูล คือโปรแกรมตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ต่างๆ ที่เราได้มีการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลไว้ ซึ่ง โปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ Mysql , Ms sql server , sysbase, oracle หรือ แม้แต่ access ก็ถือว่าเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลตัวหนึ่ง


ภาษา sql (Structured Query Language) คือ ภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล ซึ่ง ภาษา sql นี้ จะมีมาตรฐาน ที่ใช้กับโปรแกรม ฐานข้อมูล ได้เกือบทุกตัว ยกเว้น ฟังชั่นเฉพาะ บางอย่างของแต่ละฐานข้อมูลเอง



ในการออกแบบ Application จะต้องมี ดาต้าเบสที่ใช้งานกับ Application นั้นๆ ซึ่ง โปรแกรม ฐานข้อมูล จะมี โครงสร้างดาต้าเบส ได้หลาย ดาต้าเบส และ ภายในดาต้าเบสนั้นก็จะเก็บ ตารางต่างๆ ที่ใช้งานภายใน Application มากมาย


ตัวอย่าง Database Store




ตัวอย่าง table









เกี่ยวกับ mysql


Mysql คือโปรแกรมฐานข้อมูลตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากเป็น ของฟรี และมีความสามารถสูง ซึ่งจะทำงานในลักษณะ client / server ผ่าน port 3306 รองรับกับระบบปฏิบัติการ หลากหลายไม่ว่าจะเป็น unix , linux , windows


Mysql จัดเป็น ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ RDBMS คือ สามารถทำงานกับตารางข้อมูลหลายตารางพร้อมๆ กัน โดยสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตารางเหล่านั้นด้วย field ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่ง ปัจจุบัน mysql ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน ใกล้เคี้ยงกับ โปรแกรมฐานข้อมูล หลักๆ เช่น ms sql server และ oracle






ชนิดของข้อมูล mysql ที่ควรทราบเบื้องต้น


ในการสร้าง ตารางเราต้องมีการกำหนด ว่าจะมีฟิวด์อะไรบ้าง และ แต่ละฟิวด์ เก็บข้อมูลเป็นชนิดอะไร ข้อมูลด้านล่างจะเป็น ชนิดของ ฟิวด์ที่ อยู่ในฐานข้อมูล mysql เบื้องต้นที่ควรทราบ มีรายละเอียดดังนี้












































ชนิดข้อมูล


คำอธิบาย


ตัวอย่างการกำหนด


int(M)


เก็บข้อมูลชนิดตัวเลข กำหนดขนาดได้ ถ้าไม่กำหนด จะมีขนาดเท่ากับ 4


int(4)


float(M[,D])


เก็บข้อมูลเลขทศนิยม ตัว M คือขนาดที่จะใส่ D คือ จำนวนทศนิยม กี่หลัก


float(4,2)


char(M)


เก็บตัวอักษร ระหว่าง 1 ถึง 255 ตัวอักษร


char(50)


varchar(M)


เก็บตัวอักษร ระหว่าง 1 ถึง 255 ตัวอักษร


varchar(50)


text


เก็บข้อความขนาดสูง 65535 ตัวอักษร


text


longtext


เก็บข้อความขนาดสูงสุด 4294967295


longtext


datetime


เก็บข้อมูลชนิดวันที่ รูปแบบ YYYY-MM-DD HH:MM:SS


datetime


date


เก็บข้อมูลวันที่ รูปแบบ YYYY-MM-DD


date


time


เก็บเวลา รูปแบบ HH:MM:SS


time







คำสั่งพื้นฐาน ของ mysql


เริ่มต้นใช้ mysql ให้เปิดหน้าต่าง command ขึ้นมา ไปที่ start -> run พิม cmd แล้วกด enter





ให้พิมพ์ คำสั่ง ในรูป เพื่อเข้าไปที่ โฟรเดอร์ c:\wm\mysql-4.0.22\bin


ก่อนที่เราจะใช้ไปใช้งาน ฐานข้อมูลได้ ต้องทำการ login ก่อน ซึ่งเราสามารถเข้าใช้งานได้ โดยการพิมพ์คำสั่ง ดังนี้


Mysql – h localhost – u root -p






เราสามารถ ตรวจสอบ สถานะ ของ mysql ได้ โดยการใช้คำสั่ง status





ต่อไปจะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการใช้งาน mysql ที่สำคัญๆ


Show databases; = เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ แสดงรายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมดออกมา


Use ชื่อdatabase; = เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยน ฐานข้อมูล


Show tables; = เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงรายชื่อ ตารางในฐานข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ขณะนั้น
desc ชื่อtable; = เป็นคำสั่งที่ใช้แสดง โครงสร้างของตาราง







คำสั่ง SQL สำหรับสร้างฐานข้อมูล


หลังจากที่เราได้ login และ ใช้งานคำสั่ง เกี่ยวกับฐานข้อมูลไปบ้างแล้ว ต่อไปจะเป็นการที่เราสร้างดาต้าเบส เพื่อเอาไว้เก็บ table ต่างๆ ที่ใช้งาน โปรแกรมกันบ้าง


คำสั่งสร้างฐานข้อมูล และ ลบฐานข้อมูล


Create database <ชื่อดาต้าเบส>; = สร้างฐานข้อมูล


Drop database <ชื่อดาต้าเบส>; = ลบดาต้าเบส และ table ที่อยู่ข้างในทั้งหมด



Example : createtable
create database employeedb; // สร้าง ดาต้าเบส ชื่อ employeedb


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


drop database employeedb; // ลบดาต้าเบสชื่อ employeedb











คำสั่ง SQL สำหรับสร้าง ตาราง



เมื่อเราได้ทำการสร้าง ฐานข้อมูล เตรียมไว้แล้ว ใน mysql เราจำเป็นจะต้องทำการ เลือกว่าจะเข้าไปทำงานใน ดาต้าเบส ไหนก่อน เพราะ mysql มี ดาต้าเบส อยู่หลายตัว


เราจะเข้าไปทำงานภายในดาต้าเบส ที่ต้องการได้ด้วยคำสั่ง ดังนี้



การเข้าใช้งานในดาต้าเบส
Use <ชื่อดาต้าเบส>;



Example :
Use employeedb;








เมื่อเราทำการเลือกฐานข้อมูล เพื่อเข้าไปใช้งานแล้ว ให้เราสร้าง table ต่อไป ซึ่งเราจะใช้ภาษา SQL ในการสร้าง table เช่นเดียวกันกับการสร้าง ดาต้าเบส



การสร้าง table และการ ลบ table


Create table <ชื่อตาราง> (ชื่อฟิวด์ที่ 1,ชื่อฟิวด์ที่ 2); = การสร้าง ตาราง


Drop table <ชื่อตาราง>; = การ ลบตารางนั้นทิ้ง



Example : สร้างตาราง group


Create table tblgroup (groupid int(5) not null auto_increment,


Groupname varchar(50) not null ,


Primary key (groupid));



จากตัวอย่าง เป็นการสร้าง ตาราง tblgroup ซึ่งมี 2 ฟิวด์ ดังนี้


Groupid มีชนิดเป็น int ขนาด 5 มีค่าว่างไม่ได้ เพิ่มตัวเลข อัตโนมัติ และเป็น primary key


Groupname มีชนิดเป็น varchar ขนาด 50 มีค่าว่างไม่ได้




Example : สร้างตาราง member


Create table tblmember (memid int(5) not null auto_increment ,


Memname varchar(50) not null ,


Memsurname varchar(50) not null ,


Groupid int(5) not null ,


Primary key (memid));


จากตัวอย่าง เป็นการสร้างตาราง tblmember มี 4 ฟิวด์ ดังนี้


Memid มีชนิดเป็น int ขนาด 5 มีค่าว่างไม่ได้ เพิ่มตัวเลขอัตโนมัติ และ เป็น primary key


Memname มีชนิดเป็น varchar ขนาด 50 มีค่าว่างไม่ได้


Memsurname มีชนิดเป็น varchar ขนาด 50 มีค่าว่างไม่ได้


Groupid มีชนิดเป็น int ขนาด 5 มีค่าว่างไม่ได้


คำสั่งการดูโครงสร้างของตาราง
desc <ชื่อตาราง>; หรือ
describe <ชื่อตาราง>;






คำสั่ง SQL ที่ใช้สำหรับการ Modify Table


หลังจากที่เรามีการสร้างดาต้าเบส และ สร้างตาราง มีการเรียนรู้คำสั่ง SQL ที่ใช้ในการจัดการกับโครงสร้างของ ตารางไปแล้ว ในส่วนนี้ จะเป็นการแก้ไข โครงสร้างตาราง



คำสั่งที่ใช้สำหรับ เพิ่มฟิวด์ ในตาราง
alter table <ชื่อตาราง> add <ชื่อ column> <data type>



คำสั่งที่ใช้สำหรับ แก้ไข ฟิวด์ในตาราง


Alter table <ชื่อตาราง> change <ชื่อ column เก่า> <ชื่อ column ใหม่> <data type>



คำสั่งที่ใช้สำหรับ ลบ column ในตาราง


Alter table <ชื่อตาราง> drop column <ชื่อ column>



คำสั่งที่ผ่านมา เป็นคำสั่ง SQL ที่ใช้จัดการกับฐานข้อมูล ในส่วนของโครงสร้างฐานข้อมูลเบื้องต้น ต่อไปจะเป็นคำสั่ง SQL ที่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลภายใน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้







คำสั่ง SQL ทื่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล


คำสั่งสำหรับการจัดการกับข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูล เป็นคำสั่งพื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรม จะมีพวก select , insert , update , delete


Select = เป็นคำสั่ง ที่ใช้ในการ เลือกข้อมูลจากตารางมาแสดงผลตามที่ต้องการ


Insert = เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่มข้อมูลเข้าสู่ตาราง


Update = เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ update ข้อมูลที่อยู่ภายในตาราง


Delete = เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ ลบข้อมูลในตาราง



Example : คำสั่งที่ใช้ในการเลือกดูข้อมูลในตาราง


Select <ชื่อฟิวด์> from <ชื่อตาราง>;



ตัวอย่างการเลือกดูข้อมูลในตาราง user ของดาต้าเบส mysql


User mysql;
select host,user,password from user;






คำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าสู่ตาราง


Insert into <ชื่อตาราง> (ชื่อฟิวด์1 , ชื่อฟิวด์2 , ชื่อฟิวด์3) values
(“ข้อมูล1” , “ข้อมูล2” , “ข้อมูล3”);



Example : คำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าสู่ตาราง


Use employeedb;


Insert into tblgroup (groupname) values (”CEO”);


Insert into tblgroup (groupname) values (”Country manager”);


Insert into tblgroup (groupname) values (”Director”);




Insert into tblmember (memname,memsurname,groupid) values (”sarawut”,”chong”,1);


Insert into tblmember (memname,memsurname,groupid) values (”suradate”,”sricharoen”,2);





คำสั่งที่ใช้ในการ update ข้อมูลในตาราง


Update <ชื่อตาราง> set <ชื่อฟิวด์> = ”ค่าใหม่”


where <ชื่อฟิวด์> = “แถวที่ต้องการ update”;



Example : การ update ข้อมูลในตาราง tblmember


update tblmember set


memname="nuijang" ,


memsurname = "hikari"


where memname="suradate";



ผลลัพธ์




คำสั่งที่ใช้ในการ delete ข้อมูลในตาราง


Delete from <ชื่อตาราง> where <ชื่อฟิวด์> = “แถวที่ต้องการ delete”;



Example : การลบข้อมูลในตาราง tblmember


Delete from tblmember where memname =”nuijang”;


ผลลัพธ์



ไม่มีความคิดเห็น: