Control Structure |
สำหรับการเขียนโปรแกรม เราจะต้อง รู้จักกับ Control Structures เพื่อควบคุม Operator ตัวแปร และ คำสั่ง ให้เป็นไปตามความต้องการที่เราได้ออกแบบโปรแกรมไว้ สำหรับคนที่เคยเขียน Programes ภาษาใดภาษาหนึ่งมาแล้ว จะสามารถเข้าใจโดยง่าย หลักการการควบคุม Control Structures นั้น โดยทั่วไปทุกภาษาจะเหมือนกัน หรือที่เราเรียกว่า Logic แต่จะแตกต่างกันที่ รายละเอียดของคำสั่ง ดังนั้นถ้าจะศึกษาการเขียนโปรแกรมให้เข้าใจง่าย ขอให้อย่างพยายามจำคำสั่ง แต่ขอให้จำโครงสร้างคำสั่งให้ได้
ที่เราจะศึกษากัน จะประกอบไปด้วย
- if .... else .... elseif
- switch
- for
- while
- break
คำสั่ง IF คำสั่ง if เป็นคำสั่งสำหรับสร้างเงื่อนไขการทำงานของโปรแกรมว่า ถ้าเป็นจริงก็จะให้ทำงานงานหนึ่ง ถ้าเป็นเท็จก็จะให้ทำ
โครงสร้าง
if (เงื่อนไข) {
คำสั่ง;
}
elseif (เงื่อนไขที่ 2) {
คำสั่ง;
}
else {
คำสั่ง;
}
การใช้ swtich นั้นเป็นเพียงการช่วยให้ Code ที่เขียนดูเข้าใจง่ายขึ้นเท่านั้น แต่การทำงานของ switch จะมีความหมายเหมือนกับการเขียน if ต่อกันหลายๆ อัน เหมาะสำหรับกับลักษณะของโปรแกรมที่มีทางเลือกหลายๆทาง
โครงสร้าง
switch ($var) {
case exp1 :
statement;
case exp2 :
statement;
break;
.....
....
default:
คำสั่ง;
break;
}
ข้อควรระวังคือ หากไม่ระบุ break จะมีเงื่อนไขเหมือนกับ or ของหลายๆ เงื่อนไข
คำสั่ง for
คำสั่ง for เป็นคำสั่งสร้างเงื่อนไขให้ทำงานวนรอบซ่ำๆกัน จนกว่าตัวแปรที่กำหนดจะมีค่าครบตามเงื่อนไข เช่นเดียวกับ while
โครงสร้าง
For (ค่าเริ่มต้น;เงือนไขเชิงเปรียบเทียบ;การเพิ่มค่า) {
การทำงาน;
}
ตัวอย่าง
<?php
for ($i=0;$i<=10;$i++) {
if ($i % 2==0) {
echo $i.”<br>”; // วนการทำงาน 10 รอบ
}
}
?>
คำสั่ง while
จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขใน while และหากเงื่อนไขนั้นเป็นจริงก็จะทำการประมวลผล
โครงสร้าง
while (expression) {
statement;
}
ตัวอย่าง
$i=0;
while ($i<=10) {
echo $i.”<br>”;
$i++;
}
การสร้างและใช้งาน Function |
ฟังชั่นใน php มี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. ฟังชั่นที่มีมากับ PHP มีหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น
- ฟังชั่นเกี่ยวกับวันและเวลา
- ฟังชั่นเกี่ยวกับการคำนวน
- ฟังชั่นเกี่ยวกับการติดต่อฐานข้อมูล
- ฟังชั่นเกี่ยวกับข้อความ
2. ฟังชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง ซึ่งฟังชั่นจะประกอบไปด้วย ฟังชั่นแบบที่ไม่มีการส่งค่า และ ฟังชั่นที่มีการส่งค่า รูปแบบของฟังชั่นแต่ละอย่าง
ฟังชั่นแบบไม่มีการส่งค่า
<?php
function Copyright(){
echo “<table width=\"100%\" border=\"0\" cellpadding=\"0\" cellspacing=\"1\" bgcolor=\"#CCCCCC\"><tr><td><div align=\"center\">Copyright © 2006 By SignProSoft.com</div></td></tr></table>”;
}
?>
ฟังชั่นแบบมีการส่งค่า
<?php
function sum($var1,$var2,$var3=0){
$sumresult = $var1+$var2+$var3 ;
return $sumresult;
}
$var1=2;
$var2=5;
$var3=10;
echo sum($var1,$var2)."<br>";
echo sum($var1,$var2,$var3);
?>
โดยปกติการคืนค่าใน PHP นั้นจะทำได้โดยการใช้คำสั่ง return ซึ่งจะกระทำได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น แต่ถ้าต้องการคืนค่ากลับมามากกว่า 1 เราอาจจะ คืนค่ากลับมาในลักษณะข้อมูลแบบ array ก็ได้เช่น
<?php
function getUser(){
$myUser[]="sarawut chongcharoenmunkong";
$myUser[]="26";
$myUser[]="male";
return $myUser;
}
$countarr = getUser();
for ($i=0;$i<count($countarr);$i++) {
echo $countarr[$i]."<br>";
}
?>
รูปแบบ Function date
<?php
$realdate=date("Y-m-j H:i:s");
echo $realdate;
?>
Date format เป็นรูปแบบที่เราต้องการให้แสดงผล ที่ใช้บ่อยๆ คือ
a = แสดง am , pm
A = แสดง AM , PM
d = แสดงวันที่ 2 หลัก รูปแบบจะเป็น : 01 , 31
D = แสดงวันที่ เป็น text รูปแบบจะเป็น Mon,Fri
F = แสดงเดือนชื่อเต็ม “January”
h = แสดงชั่วโมง format จะเป็น 01-12 โดยจะต้องใช้คู่กับ a
H = แสดงชั่วโมง format จะเป็น 0 – 23
i = แสดงนาที ตั้งแต่ 00 – 59
j = แสดงวันที่ 1 – 31
l (L ตัวเล็ก) = แสดงวันที่แบบเต็ม Monday ,Friday
m = แสดงเดือนแบบ ตัวเลข 1 – 12
M = แสดงเดือนแบบ 3 หลัก jan
s = แสดงวินาที 00 – 59
Y = แสดง ค.ศ. 4 หลัก เช่น 2006
Y = แสดง ค.ศ. 2 หลัก เช่น 06
z = แสดง วันในรอบปี 0 – 365
1 ความคิดเห็น:
Since then, the Speedmaster became the official Replica Breitling Watches for all of Russia’s manned amplitude missions. As if that weren’t enough, the Speedmaster was aswell beat by both American astronaut Tom Stafford and Russian cosmonaut Alexei Leonov on the acclaimed Apollo-Soyuz amplitude rendezvouz.
แสดงความคิดเห็น